วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของการติดต่อสื่อสาร


ความหมายของการติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสาร (Communication) เป็นกระบวนการรับและการถ่ายทอดข้อมูลอันได้แก่ ข้อเท็จจริง ความคิด ความรู้สึกทัศนคติ หรือเนื้อหาสาระต่างๆ ที่บุคคลที่เกี่ยวข้องกันจากบุคคลไปสู่บุคคล หรือจากบุคคลไปสู่กลุ่ม หรือจากกลุ่มไปสู่กลุ่ม เพื่อสร้างความเข้าใจ การชักจูงใจหรือมุ่งให้ความรู้หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ประสงค์
จุดมุ่งหมายของการติดต่อสื่อสารการติดต่อสื่อสารกันในแต่ละระดับ ย่อมมีจุดหมายที่แตกต่างกันไป โดยภาพรวมแล้ว การติดต่อสื่อสารมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
1.เพื่อรับและส่งข่าวสารด้านต่างๆ สำหรับผู้ที่ติดต่อเกี่ยวข้องกันโดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
2.เพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือ สร้างกำลังใจ แก่ผู้เกี่ยวข้องกัน และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข
3.เพื่อรับ ส่ง ความรู้สึกที่ดี และมุ่งรักษามิตรภาพต่อกัน
     องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารองค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
1. ผู้ส่ง
2. ผู้รับ
3. ข่าวสาร/ข้อมูล
4. วิธีการติดต่อสื่อสาร
การสื่อสาร มี 2 ลักษณะ คือ วัจนสาร หมายถึง การติดต่อสื่อสารด้วยวาจา และการติดต่อสื่อสารโดยไม่ใช้วาจา ที่เรียกว่าอวัจนสาร     องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร  
ผู้ส่งสาร หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ต้องการส่งข่าวสาร/ข้อมูลให้ผู้รับสารโดยมีวัตถุประสงค์ วิธีการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ และลักษณะของผู้รับสารที่มีความแตกต่างกันในด้านภาษา วัฒนธรรม ความรู้สึก ทัศนคติ ความเชื่อ และระดับความรู้ ซึ่งผู้ส่งสาร พึงตระหนักถึงการเลือกโอกาสและวิธีการที่เหมาะสมที่เอื้อให้ผู้รับสารเข้าใจและตอบสนองได้ง่าย
2.ข่าวสาร/ข้อมูล ส่วนประกอบของข่าวสาร ข้อมูล มิใช่เป็นเพียงถ้อยคำ หรือภาษาเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง โอกาสช่วงเวลา อารมณ์ ความรู้สึก โดยเฉพาะระดับเสียง มักเป็นตัวบอกภาวะทางอารมณ์ของผู้ติดต่อว่าเป็นความพอใจ โกรธไม่พอใจ หรือเศร้าใจ เป็นต้น นอกจากนั้นการแสดงออกทางสีหน้าท่าทางยังเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดภายในของบุคคลที่สำคัญ อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น การจัดทำข่าวสาร/ข้อมูล พึงพิจารณาถึงความชัดเจนที่จะช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจและตอบสนองได้ง่าย
3.วิธีการติดต่อสื่อสาร วิธีการติดต่อสื่อสารจัดเป็นเครื่องมือที่จะนำข่าวสาร/ข้อมูลไปยังผู้รับสาร มีทั้งวิธีการติดต่อที่ไม่ใช้วาจา (Non-Vernal communication) หรืออวัจนสาร และวิธีการติดต่อที่ใช้วาจา (Verbal communication) หรือวัจนภาษา ผู้ส่งสารที่ดี พึงเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมต่อเหตุการณ์ และสอดคล้องกับลักษณะและธรรมชาติของผู้รับสาร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ คือ มีความเข้าใจตรงกัน
4.ผู้รับสาร อาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่รับข้อมูล/ข่าวสาร และตอบสนองตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร ฉะนั้นจึงพึงระมัดระวังการแปลความหมายว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง (fact) ส่วนใดเป็นความรู้สึก (feeling) ส่วนใดเป็นความคิดเห็น (thinking or opinion) และสามารถส่งข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งข่าวสารได้ ซึ่งอาจจะบอกกล่าวถึงการรับข่าวสาร/ข้อมูล ตรวจสอบความเข้าใจ หรือแสดงความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น ย่อมเพิ่มคุณภาพของการติดต่อสื่อสารให้มากยิ่งขึ้น
รูปแบบการติดต่อสื่อสารรูปแบบโดยทั่วไปในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล มี2แบบ ได้แก่
แบบที่ 1 การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว (One-way Communication) หมายถึง การที่ผู้ส่งสารได้แจ้ง หรือเสนอข้อมูลให้ผู้รับทราบ เพ่อแนะนำ บอกกล่าว หรือสั่งให้ปฏิบัติการ ซึ่งฝ่ายรับจะไม่มีโอกาสได้สอบถาม หรือปรึกษาหารือกับผู้ส่งสารเลย
แบบที่ 2 การติดต่อสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) เป็นการติดต่อสื่อสาร ทำความเข้าใจกัน โดยมีการโต้ตอบระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร โดยที่ทั้งสองฝ่ายมีโอกาสพบปะ ชี้แจง ทำการตกลง ทบทวนความเข้าใจ
แนวทางในการติดต่อสื่อสารที่เหมาะสม การที่บุคคลใช้ติดต่อสื่อสารกัน มีมากมายหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เวลาและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องในการติดต่อกัน ผู้ที่ต้องการติดต่อสัมพันธ์กันพึงพิจารณาและเลือกวิธีการที่เหมาะสมได้ ดังนี้
 1.ติดต่อกันทางความคิดและความรู้สึก บุคคลทั่วไปต้องการถ่ายทอดทางความคิดถึงกันเสมอ การถ่ายทอดกันทางความคิด สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพ แรงจูงใจ และความต้องการ ประการที่สอง ความคิดที่ชัดเจนมีผลต่อการถอดรหัสของความคิดที่ส่งมาอย่างถูกต้อง
2.ติดต่อกันทางพฤติกรรมหรือการกระทำ มีความน่าเชื่อถือมากกว่าคำพูด ภาษากายและการแสดงออกทางท่าทาง เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ที่ทำให้เข้าใจมากขึ้น
3. ติดต่อกันทางการสังเกต การสังเกต เป็นส่วนของการรับรู้ ผู้ที่มีประสบการณ์มักจะสามารถรับรู้สาระการสื่อสารให้ครบถ้วน ผู้ที่ขาดประสบการณ์มักจะโน้มเอียง ที่จะแปลผลตามที่ตนรับรู้
4. ติดต่อกันทางการพูดสนทนา ความหมายของคำหรือเนื้อหาสาระ มีความสำคัญต่อการติดต่อทางการพูด ดังนั้นจึงควรพูดหลังคิด คิดเสียก่อนที่จะพูด สื่อสาร ไปยังผู้อื่น
5. ติดต่อกันด้วยการฟัง ผู้ฟังที่ดี ควรให้ความใส่ใจ สนใจผู้พูด และ ตั้งใจฟัง โดยพยายามเข้าใจข้อมูลต่างๆที่ผู้พูดสื่อสารได้ ไม่ว่าจะเป็นวัจนสาร หรืออวัจนสาร
แนวการประเมินประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารเป็นลักษณะที่เป็นการติดต่อสื่อสารที่ดีมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยลักษณะ 5 ประการดังนี้ 1.มีความชัดเจน การทำให้เกิดความชัดเจน หมายถึง การ ระมัดระวัง ในการเลือกภาษา หรือถ้อยคำ หรือข้อความที่จำ เป็น และช่วยในการแปลความ ให้เกิดความเข้าใจตรงกัน สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ระบุผู้ที่เกี่ยวข้อง เวลา สถานที่ เหตุผล เป็นต้น
2..มีความสมบูรณ์ การติดต่อสื่อสารที่มีความสมบูรณ์ เป็นความพยายามทำให้การถ่ายทอดครบถ้วนตามที่ต้องการ ให้ผู้รับเข้าใจ ได้แก่ การระบุวัตถุประสงค์ วิธีการและสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา •3..มีความกะทัดรัด (Conciseness) เป็นการจัดทำข่าวสารที่มีความจำเป็น จะให้เห็นประเด็นสำคัญชัดเจน ไม่ทำให้เกิดความเข้าใจสับสน
4. เป็นรูปธรรม (Concreteness) เป็นการติดต่อสื่อสารที่แสดงให้เห็นเป็นจริงได้มิใช่อยู่ในจิตนาการ หรือเป็นเพียงความคาดหวังเท่านั้น กล่าวคือ ควรสื่อสารกันบนพื้นฐานของความเป็นจริง ง่ายต่อการเข้าใจ •5.มีความถูกต้อง (Correctness) เป็นการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสารที่เป็นจริงไม่บิดเบือน หรือขาดตกสูญหาย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น